วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปิกาจู

ปิกาจู

พิกะจู (ญี่ปุ่นPikachu ピカチュウ ?) เป็นสายพันธุ์ของโปเกมอน โปเกมอนเป็นสิ่งมีชีวิตในบันเทิงคดีที่ปรากฏในวิดีโอเกม รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์แอนิเมชัน การ์ดเกม และหนังสือการ์ตูน เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทญี่ปุ่น เดอะโปเกมอนคอมพานี พิกะจูออกแบบโดยอะสึโกะ นิชิดะ และตรวจทานโดยเคน ซุงิโมะริ พิกะจูปรากฏครั้งแรกในเกมเกมโปเกมอนเรดและกรีน และต่อมาปรากฏในเกมโปเกมอน เรดและบลู ซึ่งเป็นเกมแรกในชุดโปเกมอนที่วางจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเครื่องเกมบอยรุ่นแรก
มนุษย์จับและฝึกฝนพิกะจูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขัน เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง เหตุเพราะพิกะจูเป็นตัวละครหลักในอะนิเมะเรื่องโปเกมอน พิกะจูถือว่าเป็นตัวละครหลัก และการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปในวัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แนวคิดและการออกแบบ[แก้]

ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า "โปเกมอน" ผู้เล่น หรือ "เทรนเนอร์" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม[1][2] พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ออกแบบหลายครั้งโดยทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีก ศิลปินชื่อ อะสึโกะ นิชิดะ เป็นบุคคลหลักที่ออกแบบพิกะจู[3][4] ซึ่งต่อมาได้ตรวจทานโดยเค็น ซุงิโมะริ[5][6] จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทะจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง pika เสียงของประกายไฟฟ้า และ chu เสียงร้องของหนู[7] จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน[8]
เมื่อยืนตรง พิกะจูจะสูง 1 ฟุต 4 นิ้ว (0.4 เมตร) พิกะจูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนู และเป็นโปเกมอน "ประเภทไฟฟ้า" ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจจะให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[9] พิกะจูมีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลปกคลุมแผ่นหลังและบางส่วนของหางรูปสายฟ้า มีหูแหลมแต้มด้วยสีดำ และถุงเก็บกระแสไฟฟ้าสีแดงอยู่ที่แก้มสองข้าง สามารถสร้างประกายไฟได้[10] ในโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล นำเสนอความแตกต่างตามเพศเป็นครั้งแรก พิกะจูเพศเมียจะมีรอยเว้าที่ปลายหางเป็นรูปหัวใจ พิกะจูจะจู่โจมโดยใช้ไฟฟ้าจากร่างกายพุ่งไปสู่คู่ต่อสู้ ในบริบทของแฟรนไชส์ พิกะจูสามารถเปลี่ยนร่าง หรือ "พัฒนาร่าง" (evolve) เป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า (Thunderstone) ในซีรีส์ต่อมา ร่างพัฒนาก่อนหน้าเกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่า "พีชู" (Pichu) ซึ่งจะพัฒนาเป็นพิกะจูหลังจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์
เดิมทีโปเกมอนที่ถูกเลือกให้เป็นตัวละครหลักของสินค้าในแฟรนไชส์คือพิกะจู และปิปปี (Clefairy) ซึ่งปิปปีเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ที่ทำให้หนังสือการ์ตูน "มีเสน่ห์" (engaging) ขึ้น แม้กระนั้น ในการผลิตซีรีส์แอนิเมชัน พิกะจูกลายเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อต้องการดึงดูดเหล่าผู้ชมเพศหญิงและแม่ของพวกเขา ภายใต้ความเชื่อว่าเขาสร้างสิ่งมีชีวิตให้เป็นภาพทดแทนสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ สีตัวพิกะจูก็เป็นหนึ่งในปัจจัย เนื่องจากสีเหลืองเป็นแม่สี และเด็ก ๆ มองเห็นง่ายจากระยะไกล และคู่แข่งเดียวที่เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์สีเหลืองเหมือนกันในเวลานั้นคือ วินนี่-เดอะ-พูห์ เท่านั้น[11] แม้ว่าทะจิริจะรู้ว่าตัวละครได้รับความนิยมจากทั้งเด็กชายและเด็กหญิง แต่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของแนวคิดที่ว่าจะให้พิกะจูเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ และกล่าวว่าเขารู้สึกว่าเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบพิกะจู ไม่ได้สนใจมุมมองของคนที่มีต่อซีรีส์อยู่แล้ว[12]

การปรากฏตัว[แก้]

ในวิดีโอเกม[แก้]

ในวิดีโอเกม พิกะจูเป็นโปเกมอนระดับล่าง ปรากฏในเกมในธรรมชาติทุกภาคยกเว้นภาคแบล็ก และ ไวต์ ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนเท่านั้น[13] โปเกมอน เยลโลว์จะมีพิกะจูเป็นโปเกมอนเริ่มต้นเพียงตัวเดียว และอิงจากพิกะจูในอะนิเมะ พิกะจูจะไม่ยอมเข้ามอนสเตอร์บอลหรือโปเกบอล แต่จะเดินตามตัวละครหลักบนหน้าจอแทน เทรนเนอร์สามารถพูดคุยกับมันและมันจะแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู[14] ณ เหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้ผู้เล่นโปเกมอนฮาร์ตโกลด์ และโซลซิลเวอร์ เข้าไปในเส้นทางผ่านเครื่องโปเกวอล์กเกอร์ ซึ่งจะมีพิกะจูที่จดจำท่าโจมตีที่ปกติจะไม่สามารถจดจำได้ นั่นคือ โต้คลื่น (Surf) และ บินโฉบ (Fly) [15] ทั้งสองท่านี้เป็นตัวช่วยเดินทาง สามารถใช้นอกการต่อสู้ได้
นอกจากซีรีส์หลักของเกมแล้ว พิกะจูยังปรากฏในเกม เฮย์ยูพิกะจู บนเครื่องนินเทนโด 64[16] ผู้เล่นสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับพิกะจูผ่านไมโครโฟน ออกคำสั่งให้เล่นมินิเกมต่าง ๆ และแสดงความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เกมโปเกมอนแชนเนลก็เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับพิกะจูเช่นกัน แต่ไม่ใช้ไมโครโฟน[17] พิกะจูปรากฏในทุกด่านของเกมโปเกมอนสแนป ซึ่งผู้เล่นจะต้องถ่ายภาพโปเกมอนเพื่อเก็บคะแนน พิกะจูเป็นหนึ่งใน 16 โปเกมอนเริ่มต้น และ 10 คู่หูในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน พิกะจูยังเป็นตัวละครหลักในเกมโปเกปาร์กวี: พิกะจูส์แอดเวนเชอร์[18] และปรากฏเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอส์[19] โปเกมอนเป็นตัวละครของโพรโตคอลอะมีโบ (Amiibo) ด้วย พิกะจูเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมโพกเคนทัวร์นาเมนต์ ร่วมกับ "พิกะจู ลิเบร" ยึดจาก "คอสเพลย์พิกะจู" จากภาคโอเมการูบี และอัลฟาแซฟไฟร์[20][21] เกม เมตันเตพิกะจู: ชิงกอมบิตันโจ เสนอพิกะจูในบทบาทนักสืบและช่วยไขปริศนา[22]

ในอะนิเมะ[แก้]

ซีรีส์อะนิเมะและภาพยนตร์โปเกมอนนำเสนอการเดินทางของซาโตชิ หรือแอช เค็ตชัม (Ash Ketchum) ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจักรวาลโปเกมอน เขาเดินทางพร้อมกับกลุ่มเพื่อนร่วมทางที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ได้แก่ คาสึมื ทาเคชิ เค็นจิ ฮารุกะ มาซาโตะ ฮิคาริ ไอริส เด็นโตะ ยูเรกะ เซเรนา และซิตรอน
ในตอนแรก เด็กชายจากเมืองมาซาระ อายุครบ 10 ปีและพร้อมที่จะได้รับโปเกมอนตัวแรก เนื่องจากตั้งใจจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ คืนก่อนที่เขาได้รับโปเกมอนเริ่มต้น (เซนิกาเมะ ฮิโตะคาเงะ หรือฟุชิงิดาเนะ ตัวใดตัวหนึ่ง) เขาฝันว่าได้รับโปเกมอนและละเมอทำลายนาฬิกาปลุกของเขา ซาโตชิวิ่งไปที่ห้องทดลองของศาสตราจารย์ออคิโด ซึ่งพบว่าโปเกมอนเริ่มต้นถูกแจกให้คนอื่นไปแล้ว ศาสตราจารย์ออคิโดบอกซาโตชิว่ายังมีโปเกมอนเหลืออยู่ตัวหนึ่ง คือ พิกะจู ทีแรก พิกะจูดื้อและไม่เชื่อฟังซาโตชิ ปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่เขาบ่อยครั้งและไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอนสเตอร์บอลเหมือนกับโปเกมอนตัวอื่น ๆ แม้กระนั้น ซาโตชิเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องพิกะจูจากฝูงโอนิซุซุเมะ[23] จากนั้นรีบพาพิกะจูไปรักษาตัวที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ เนื่องจากซาโตชิสาธิตความเชื่อถือและความมุ่งมั่นแบบไร้เงื่อนไขต่อโปเกมอน พิกะจูจึงเริ่มใส่ใจซาโตชิ และมิตรภาพระหว่างเขาก็เกิดขึ้น แต่พิกะจูยังคงไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอสเตอร์บอล หลังจากนั้นไม่นานพิกะจูแสดงพลังยิ่งใหญ่ซึ่งโดดเด่นจากโปเกมอน หรือแม้แต่พิกะจูตัวอื่น ทำให้ทีมร็อกเก็ตพยายามแย่งชิงตัวพิกะจูเพื่อสนองความต้องการของหัวหน้าซาคากิให้ได้[24] ครั้งหนึ่ง ซาโตชิเกือบปล่อยตัวพิกะจู ในตอน Pikachu's Goodbye เพราะซาโตชิคิดว่าพิกะจูคงจะมีความสุขมากกว่าถ้าได้อยู่กับฝูงพิกะจูป่า แต่พิกะจูเลือกที่จะอยู่กับเขาแทน[25] พิกะจูยังปรากฏในช่วงพิเศษในสองซีซันแรก เรียกว่า "พิกะจูส์จูกบอกซ์" ซึ่งมีเพลงจากอัลบั้ม 2.บี.เอ.มาสเตอร์ ด้วย
ในซีรีส์ยังมีพิกะจูป่า และพิกะจูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิกะจูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิกะจูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี[26] พิกะจูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอะนิเมะ ผู้ให้เสียงพิกะจูคืออิคูเอะ โอตานิ ในโปเกมอนไลฟ์ ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอะนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิกะจูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์

ในสื่ออื่น[แก้]

พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนหลักในซีรีส์มังงะโปเกมอนหลายซีรีส์ ในโปเกมอนสเปเชียล ตัวละครหลัก เรดโดะ และอิเอะโระ ทั้งคู่ต่างเลี้ยงพิกะจู เกิดเป็นไข่ซึ่งโกรุโดะฟักออกมาเป็นพีชู ในซีรีส์อื่น เช่น เมจิคัลโปเกมอนเจอร์นีย์ และเก็ตโตดาเซ นำเสนอพิกะจูเช่นกัน ขณะที่ในมังงะซีรีส์อื่น เช่น อิเล็กทริกเทลออฟพิกะจู[27] และ แอชแอนด์พิกะจู นำเสนอพิกะจูของซาโตชิตัวเดียวกับในอะนิเมะ[27]
การ์ดสะสมที่มีรูปพิกะจูปรากฏขึ้นมาในโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรก ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 รวมถึงการ์ดรุ่นที่มีจำกัดด้วย พิกะจูยังถูกนำไปใช้ส่งเสริมสินค้าร้านอาหารจานด่วนต่าง ๆ เช่น แมคโดนัลด์ เวนดีส์ และเบอร์เกอร์คิง ด้วย[28][29][30][31]

การส่งเสริมและอนุสรณ์[แก้]

รถยนต์โตโยตา อิสต์ ลายคล้ายพิกะจู
เครื่องบิน ANA โบอิง 747-400 ลายพิกะจูและโปเกมอนชนิดอื่น ๆ (ที่มองเห็นคือ ปิปปี, โทเกปี, มิวทู และคาบิกอน)
ในฐานะการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์ พิกะจูปรากฏตัวในเหตุการณ์ และสินค้าต่าง ๆ หลายครั้ง ใน ค.ศ. 1998 โจอัน แวกนอน นายกเทศมนตรีของเมืองโทพีกา รัฐแคนซัส ในขณะนั้นเปลี่ยนชื่อเมืองให้เป็น "โทพิกะจู" (Topikachu) หนึ่งวัน[32] และในโฆษณาชุด "Got Milk?" ก็มีพิกะจูปรากฏอยู่ในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2000[33] ในขบวนพาเหรดเมซีส์แธงส์กิฟวิงเดย์พาเหรด นำเสนอบอลลูนลายพิกะจูตั้งแต่ ค.ศ. 2001[34] บอลลูนแบบดั้งเดิมลอยต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้ายในงานครบรอบสิบปีของโปเกมอน ชื่อว่า "ปาร์ตีออฟเดอะเดเคด" (Party of the Decade) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ที่สวนไบรแอนต์ในนครนิวยอร์ก[35][36][37][38] และบอลลูนพิกะจูแบบใหม่ที่กำลังไล่ตามมอนสเตอร์บอลและมีแก้มสีโทนสว่างปรากฏตัวครั้งแรกในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2006[39] ในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2014 บอลลูนพิกะจูแบบใหม่สวมผ้าพันคอสีเขียวและกำลังถือพิกะจูสโนว์แมนตัวเล็กอยู่[40]
ในตอนแรกของซีรีส์ที่ 11 ของซีรีส์เรื่องท็อปเกียร์ พิธีกร ริชาร์ด แฮมมอนด์เปรียบภาพของรถยนต์รุ่นทาทา นาโน กับพิกะจูตัวหนึ่ง โดยกล่าวว่า "พวกเขาประหยัดเงินในการออกแบบ เพราะเขายึดพิกะจูเป็นต้นแบบ"[41] ในตอนชื่อ "Dual" ในซีซีนที่สามของเรื่อง ฮีโร่ส์ แดฟนี มิลล์บรุก ตั้งชื่อเล่นให้ฮิโระ นากามุระ ว่า "พิกะจู" ทำให้เขาละอายใจมาก เทรซี สเตราส์ เรียกเขาด้วยชื่อนี้อีกครั้งหลังจากเขากล่าวขอโทษก่อนที่จะต่อยหน้าเธอ[42][43] ตัวละครล้อเลียนพิกะจูตัวหนึ่งชื่อ หลิงหลิง เป็นตัวละครหลักในละครดรอนทูเก็ตเดอร์ ทางช่องคอเมดีเซนทรัล บนตัวเครื่องบินรุ่นโบอิง 747-400 ของสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ (JA8962) มีรูปพิกะจูอยู่ด้วย[44]
พิกะจูปรากฏตัวหลายครั้งในซีรีส์เดอะซิมป์สันส์ ในตอน "Bart vs. Lisa vs. the Third Grade" ค.ศ. 2002 บาร์ต ซิมป์สันมีภาพหลอนขณะทำข้อสอบในห้องเรียนและมองเห็นเพื่อนในห้องเป็นตัวละครในรายการโทรทัศน์หลายตัว หนึ่งในนั้นคือพิกะจู[45] แมกกี ซิมป์สัน กลายเป็นพิกะจูในมุขโซฟาหรือคาวช์แก็ก (couch gag) ในช่วงเปิดเรื่องของตอน 'Tis the Fifteenth Season" ค.ศ. 2003[46] มุขโซฟามุขดังกล่าวได้กลับมาใช้อีกครั้งในตอน "Fraudcast News" ค.ศ. 2004[47] ในตอน "Postcards from the Wedge" ค.ศ. 2010 ขณะบาร์ตทำการบ้าน โปเกมอนตอนหนึ่งเบี่ยงเบนความสนใจของเขา หลังจากกำลังชมฉากที่ซาโตชิกำลังคุยกับพิกะจู เขาครุ่นคิดว่าการ์ตูนเรื่องโปเกมอนสามารถฉายอยู่ได้อย่างไรเป็นเวลาหลายปี[48]
นิตยสารไทม์จัดอันดับให้พิกะจูเป็นบุคคลดีเด่นอันดับที่สองประจำปี ค.ศ. 1999 เรียกพิกะจูว่าเป็น "ตัวละครแอนิเมชันที่เป็นที่รักที่สุดนับตั้งแต่มีเฮลโลคิตตีมา" นิตยสารชี้ว่าพิกะจูเป็น "หน้าตาสาธารณชนของปรากฏการณ์ที่แพร่หลายจากวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดของนินเทนโด จนกลายเป็นอาณาจักรการ์ดเกม" กล่าวว่าสาเหตุของการจัดอันดับมาจากการทำกำไรให้แฟรนไชส์ได้ในปีนั้น รองจากริกกี มาร์ติน และนำหน้านักเขียน เจ.เค. โรว์ลิง[49] พิกะจูอยู่อันดับที่ 8 จากผลสำรวจตัวละครแอนิเมชันตัวโปรด จัดทำโดยแอนิแมกซ์ ใน ค.ศ. 2002 พิกะจูของซาโตชิอยู่อันดับที่ 15 จากรายชื่อตัวละครการ์ตูนที่ดีที่สุดตลอดกาล จัดทำโดยนิตยสารทีวีไกด์[50] เว็บไซต์เกมสปอต กล่าวถึงพิกะจูในบทความ "ฮีโร่จากเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล"[51] ใน ค.ศ. 2003 นิตยสารฟอบส์ตัดอันดับพิกะจูให้เป็นตัวละครในบันเทิงคดีที่ทำรายได้สูงสุดอันดับที่แปดด้วยรายได้ 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[52] ใน ค.ศ. 2004 พิกะจูตกอันดับลงมา 2 อันดับ อยู่อันดับที่ 10 ทำรายได้อีก 825 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นปีที่สองติดต่อกัน[53] ในผลสำรวจ ค.ศ. 2008 ของออริคอน พิกะจูได้รับโหวตเป็นตัวละครจากวิดีโอเกมที่เป็นที่นิยมที่สุดอันดับที่ 4 ในญี่ปุ่น ร่วมกับโซลิดสเนก[54] พิกะจูยังถือเป็นมิกกี้ เมาส์ในแบบฉบับของญี่ปุ่น[55] และเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว "ทุนนิยมน่ารัก" (cute capitalism) [44] พิกะจูติดอันดับที่ 8 ในรายชื่อ "ตัวละครอะนิเมะ 25 ตัวยอดเยี่ยมตลอดกาล" จัดทำโดยไอจีเอ็น[56] นิตยสารนินเทนโดเพาเวอร์จัดว่าพิกะจูเป็นฮีโรตัวโปรดอันดับที่ 9 กล่าวว่า แม้ว่ามันจะเป็นหนึ่งในโปเกมอนรุ่นแรก ๆ แต่มันก็ยังเป็นที่นิยมในทุกวันนี้[57] นักเขียน เทรซี เวสต์ และแคตเธอรีน โนลล์ เรียกพิกะจูว่าเป็นโปเกมอนรูปแบบไฟฟ้าที่ดีที่สุด และเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดจากทั้งหมดทั้งมวล เขาเสริมว่าถ้าคนคนหนึ่งถามผู้เล่นเกมโปเกมอนว่าโปเกมอนตัวโปรดของเขาคือตัวอะไร พวกเขา "คงจะ" เลือกพิกะจู เขายังเห็นว่าพิกะจู "กล้าหาญและจงรักภักดี"[58] ในคำกล่าวที่ไม่ใช่ด้านดี พิกะจูจัดว่าเป็นตัวละครการ์ตูนในยุค 1990 ที่น่ารำคาญที่สุดอันดับหนึ่ง[59] จัดทำโดยเว็บท่าอาสก์เมน[60]เช่นเดียวกัน ในผลสำรวจที่ไอจีเอ็นทำขึ้น พิกะจูเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดอันดับที่ 48 โดยมีพนักงานให้ความเห็นว่า "แม้ว่าจะเป็นโปเกมอนที่เป็นที่จดจำที่สุดในโลก พิกะจูกลับอยู่อันดับต่ำใน 100 อันดับอย่างน่าประหลาดใจ"[61]
สารลิแกนด์ที่เพิ่งถูกค้นพบซึ่งเชื่อกันว่าช่วยทำให้สายตาแหลมคม ค้นพบโดยมูลนิธิสถาบันชีวเคมีโอซากา (ญี่ปุ่นOsaka Bioscience Institute Foundation 大阪バイオサイエンス研究所 ?) ได้ชื่อว่า "พิกะชูริน" (Pikachurin) ยืมชื่อมาความว่องไวของพิกะจู[62] เนื่องจากพิกะจูมี "การเคลื่อนไหวไวเท่าแสงและเอฟเฟกต์ไฟฟ้าช็อต"[63]
พิกะจูและโปเกมอนอื่น ๆ อีก 10 ชนิดเคยถูกเลือกให้เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ในฟุตบอลโลก 2014 ด้วย[64]










เมืองตราด

ตราด

ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบใน สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปีพ.ศ. 1991-2031) ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็น บ้านเมือง ครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการ บริหารราชการแผ่นดิน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และ พลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่างๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโทหัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวางตามลำดับอย่างไร ก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราด แต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า"หัวเมืองชายทะเลหรือ บรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า"บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมือง ต่างๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทางทะเล หลักฐานอีกทางหนึ่งเชื่อว่าคำว่า"ตราด" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจาก "กราด" อันเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งสำหรับใช้ทำไม้กวาด ซึ่งในสมัยก่อน ต้นไม้ชนิดนี้มักจะมีมากทั่วเมืองตราดจากหลักฐานต่างๆดังกล่าวมาแล้วนี่ เองจึงทำให้ชื่อว่า "เมืองตราด" เป็นเมืองที่มีชื่อเรียกกันมาอย่างนี้กว่า 300 ปีมาแล้ว และ เป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทหาร จำนวนหนึ่ง ตีฝ่าวงล้อม ของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกัน ทางทิศตะวันออก โดยยกทัพไปถึงเมืองตราดซึ่งปรากฏในพงศาวดารว่า" ...หลังจากพระเจ้าตากสิน ตีเมือง จันทบุรีได้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์เดือน7ปีกุนพ.ศ. 2310ก็ได้เกลี้ยกล่อม ผู้คนให้กลับ คืน มายังภูมิลำเนาเดิม... "ครั้นเห็นว่าเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพเรือ ไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากันเกรงกลัวยอมอ่อนน้อม โดยดี ทั่วทั้งเมือง และขณะนั้นมีสำเภาจีน มาทอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนาย เรือมาเฝ้าพวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลงเรือที่นั่งคุม เรือรบลงไปล้อมสำเภาไว้แล้ว บอกให้ พวกจีนอ่อนน้อมโดยดีพวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอาปืน ใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตากก็ตีได้เรือสำเภาจีนทั้งหมด ได้ทรัพย์สิ่งของ เป็นกำลังการทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตาก จัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้ง อยู่ ณ เมืองจันทบุรี" เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับเมืองตราด ก็คือ เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เสียดินแดน ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส เนื่องมาจากการตกลงทำสนธิสัญญา กับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ.122) ซึ่งทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนจังหวัดตราด และ เกาะต่างๆ ตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จ.จันทบุรีไปจนถึงเกาะกูด และเมืองปัจจันตคีรีเขตร หรือ เกาะกง ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสถอนกองทหารไปจากจันทบุรี โดยสัญญาฉบับนี้ ได้ ให้สัตยาบันต่อกันและมีผลทำให้กองทหารฝรั่งเศส ถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีตามสัญญา เมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2447[4]








เมืองจันทบุรี

จันทบุรี

       จันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[3] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด[4] โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง[5] และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุทธ

       จันทบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งโดยชนชาติชอง จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร ครั้งที่ 2 เกิดสงครามอานัมสยามยุทธในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและครั้งที่ 3 ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์และมีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ส่งผลให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมหลายแห่ง

ประวัติและตำนาน[แก้]

จันทบุรีเป็นเมืองเก่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติ ชอง บางตำนานก็ว่าสร้างโดยชนชาติ ขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า "ควนคราบุรี" ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เมืองกาไว" ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร เจ้าผู้ครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ในตำนานคือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. 1349-1399) ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูร จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี[6] เนื่องจากสยามมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าสยามล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนสยามได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของสยาม ฝ่ายสยามเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายสยามต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางสยามดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายสยามจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาสยามยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในอาณาเขตประเทศกัมพูชา ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้