วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลูกเสือเนตรนารี






ความรู้สึกที่เข้าค่ายลูกเสือ คือ รู้สึกดี และ ตื่นเต้นมากกกก

อ้างอิง ตราดสรรเสริญวิทยาคม

วิชาการตราดสรรเสริญวิทยาคม






อ้างอิง     facebook  ตราดสรรเสริญวิทยาคม

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิดีโอ


เนื้อเรื่องย่อ 


เรื่องราววุ่นๆของ ตั๊ด (วรเวช ดานุวงศ์) ชายหนุ่มบ้ากีฬาฟุตบอล ผู้มีชีวิตเป็นวงกลม ใช้ชีวิตซ้ำซากจำเจ ทำให้แฟนสาว มาแต (อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา) ที่คบกันมานานเริ่มเบื่อจนต้องบอกเลิกกันไป แต่ก็ไม่รู้ทำไมเพื่อนสาวของแฟนเก่า ง้อ (คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์) ผู้หญิงที่ยอมทำทุกอย่างเพื่อคนที่ตัวเองรัก จนลืมนึกถึงเรื่องตัวเอง ที่แอบหลงรักตั๊ดมานานจนสารภาพรัก เจ้าตัวก็ตอบรับในทันที แต่เรื่องราวยังไม่จบ เมื่อง้อถูกมองว่าแย่งแฟนเพื่อน เป็นได้แค่เงาของมาแต ส่วนมาแต สาวลูกคุณหนู ออกตัวแรง พกความมั่นใจมาอย่างเต็มพิกัด ที่เพิ่งจะบอกเลิกกับแฟนหนุ่มมามาดๆ พอเจอหนุ่มที่คิดว่าใช่ที่สุดในชีวิต ก็ไม่รีรอเดินหน้าจีบอย่างเต็มที่ แต่ทางด้านชายหนุ่ม แทน (อารักษ์ อมรศุภศิริ) ผู้ที่พยายามทำให้ตัวเองดูเท่ เพื่อจะได้มีคนมารัก แต่พอถึงเวลาจริงๆ กลับไม่แน่ใจ กลัวความรักที่เกิดขึ้น หลังอาน (โก๊ะตี๋ อารามบอย) ผู้ที่ให้ความรักกับผู้หญิงแค่ 2 คนบนโลกเท่านั้น คนแรกเป็นผู้หญิงที่หลังอานเลือกไม่ได้นั่นก็คือคุณแม่ ส่วนอีกคนหลังอานขอเป็นคนเลือกเอง จนได้พบกับ ฟ้า (อภิญญา สกุลเจริญสุข) ผู้หญิงที่ไม่ใส่ใจเรื่องรูปร่างหน้าตา แต่ขอเพียงใครสักคนที่รักตัวเองจริงก็พอ แต่ความรักของหลังอานอาจไม่ราบรื่น เพราะ คุณแม่กับแฟนสาวเข้ากันไม่ได้ กลุ่มเพื่อนซี้ที่ไม่รู้ว่าตัวเองรักใครกันแน่ เมื่อ 2 หนุ่ม อุ่น (โทนี่ รากแก่น) และเจ็ท (ธนกฤต พานิชวิทย์) ต้องมารับหน้าที่ปรึกษาหัวใจกับ เง็ก (รมิตา มหาพฤกษ์พงศ์) สาวปากแข็งทีไม่ยอมรับหัวใจ ตัวเอง ด้วยความที่ทั้ง 3 สนิทกันมากเลยจนมองข้ามความรักไป ฟิน (กวี ตันจรารักษ์) หนุ่มที่จริงจังกับการใช้ชีวิตทุกเรื่อง ต้องมาติดแง็กรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจ กับคุณหมอสาวสุดเปรี้ยว ที่นิสัยต่างกันคนละขั้วอย่าง ดี้ (ณัฐฐาวีรนุช ทองมี) ที่ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของความรัก



 

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กีต้าร์



ประวัติ[แก้]

เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมากว่า 5,000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara) เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์
คำว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย ชาวมัวร์
กีตาร์ในยุคปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาว(ไวกิ้ง)
ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ พบเห็นจนถึงปี 1576
เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง (500 กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการผลิตแมนโดลินมาก่อน
กีตาร์ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์ (George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[1]
http://th.wikipedia.org/

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ท่องเที่ยวสะพานแม่น้ำแคว

ท่องเที่ยวสะพานแม่น้ำแคว


             ประวัติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว

            สะพานข้ามแม่น้ำแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดียอีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสะพานข้ามแม่น้ำแควเดิมได้รับความเสียหาย และรัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ดังเดิม ปัจจุบัน มีการยกย่องให้สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
เดิมทีสะพานข้ามแม่น้ำแควไม่เคยมีจริงในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากทางอเมริกาได้ทำเป็นภาพยนตร์ ดังนั้นทางจังหวัดจึงมีความเห็นให้ตั้งชื่อสะพานที่ท่ามะขามให้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว[ต้องการอ้างอิง] เพื่อให้เหมือนภาพยนตร์ และได้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาตามหาจริงๆ สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น
สะพานเดิมนั้นจะเป็นเหล็กโค้ง ส่วนที่เป็น 4 เหลี่ยมเป็นการซ่อมแซม
สะพานเหล่านี้เดิมทีมีมากมายหลายแห่งในประเทศไทยและลาวพม่าแต่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ ในไทยมีที่ทำจากเหล็กไม่ถึง 15 สะพาน













                       https://sites.google.com/site/yuttachaisupkham2/2

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว ขวัญแก้ว   สุขสบาย

ชื่อเล่น ขวัญ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/2  เลขที่ 17

เกิด วัน จันทร์ ที่3 เดือน มกราคม  พ.ศ 2543

ที่อยู่ 100/1  หมู่ 2  ตำบล หนองโสน  อำเภอ เมือง  จังหวัด ตราด

Facebook  น้อง'ง ขวัญ  ยิ้มเก่ง'ง

E-mail   khwanmee25@gmail.com