วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ปิกาจู

ปิกาจู

พิกะจู (ญี่ปุ่นPikachu ピカチュウ ?) เป็นสายพันธุ์ของโปเกมอน โปเกมอนเป็นสิ่งมีชีวิตในบันเทิงคดีที่ปรากฏในวิดีโอเกม รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์แอนิเมชัน การ์ดเกม และหนังสือการ์ตูน เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทญี่ปุ่น เดอะโปเกมอนคอมพานี พิกะจูออกแบบโดยอะสึโกะ นิชิดะ และตรวจทานโดยเคน ซุงิโมะริ พิกะจูปรากฏครั้งแรกในเกมเกมโปเกมอนเรดและกรีน และต่อมาปรากฏในเกมโปเกมอน เรดและบลู ซึ่งเป็นเกมแรกในชุดโปเกมอนที่วางจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเครื่องเกมบอยรุ่นแรก
มนุษย์จับและฝึกฝนพิกะจูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขัน เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง เหตุเพราะพิกะจูเป็นตัวละครหลักในอะนิเมะเรื่องโปเกมอน พิกะจูถือว่าเป็นตัวละครหลัก และการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปในวัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมา

แนวคิดและการออกแบบ[แก้]

ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า "โปเกมอน" ผู้เล่น หรือ "เทรนเนอร์" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม[1][2] พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ออกแบบหลายครั้งโดยทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีก ศิลปินชื่อ อะสึโกะ นิชิดะ เป็นบุคคลหลักที่ออกแบบพิกะจู[3][4] ซึ่งต่อมาได้ตรวจทานโดยเค็น ซุงิโมะริ[5][6] จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทะจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง pika เสียงของประกายไฟฟ้า และ chu เสียงร้องของหนู[7] จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน[8]
เมื่อยืนตรง พิกะจูจะสูง 1 ฟุต 4 นิ้ว (0.4 เมตร) พิกะจูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนู และเป็นโปเกมอน "ประเภทไฟฟ้า" ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจจะให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[9] พิกะจูมีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลปกคลุมแผ่นหลังและบางส่วนของหางรูปสายฟ้า มีหูแหลมแต้มด้วยสีดำ และถุงเก็บกระแสไฟฟ้าสีแดงอยู่ที่แก้มสองข้าง สามารถสร้างประกายไฟได้[10] ในโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล นำเสนอความแตกต่างตามเพศเป็นครั้งแรก พิกะจูเพศเมียจะมีรอยเว้าที่ปลายหางเป็นรูปหัวใจ พิกะจูจะจู่โจมโดยใช้ไฟฟ้าจากร่างกายพุ่งไปสู่คู่ต่อสู้ ในบริบทของแฟรนไชส์ พิกะจูสามารถเปลี่ยนร่าง หรือ "พัฒนาร่าง" (evolve) เป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า (Thunderstone) ในซีรีส์ต่อมา ร่างพัฒนาก่อนหน้าเกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่า "พีชู" (Pichu) ซึ่งจะพัฒนาเป็นพิกะจูหลังจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์
เดิมทีโปเกมอนที่ถูกเลือกให้เป็นตัวละครหลักของสินค้าในแฟรนไชส์คือพิกะจู และปิปปี (Clefairy) ซึ่งปิปปีเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ที่ทำให้หนังสือการ์ตูน "มีเสน่ห์" (engaging) ขึ้น แม้กระนั้น ในการผลิตซีรีส์แอนิเมชัน พิกะจูกลายเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อต้องการดึงดูดเหล่าผู้ชมเพศหญิงและแม่ของพวกเขา ภายใต้ความเชื่อว่าเขาสร้างสิ่งมีชีวิตให้เป็นภาพทดแทนสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ สีตัวพิกะจูก็เป็นหนึ่งในปัจจัย เนื่องจากสีเหลืองเป็นแม่สี และเด็ก ๆ มองเห็นง่ายจากระยะไกล และคู่แข่งเดียวที่เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์สีเหลืองเหมือนกันในเวลานั้นคือ วินนี่-เดอะ-พูห์ เท่านั้น[11] แม้ว่าทะจิริจะรู้ว่าตัวละครได้รับความนิยมจากทั้งเด็กชายและเด็กหญิง แต่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของแนวคิดที่ว่าจะให้พิกะจูเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ และกล่าวว่าเขารู้สึกว่าเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบพิกะจู ไม่ได้สนใจมุมมองของคนที่มีต่อซีรีส์อยู่แล้ว[12]

การปรากฏตัว[แก้]

ในวิดีโอเกม[แก้]

ในวิดีโอเกม พิกะจูเป็นโปเกมอนระดับล่าง ปรากฏในเกมในธรรมชาติทุกภาคยกเว้นภาคแบล็ก และ ไวต์ ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนเท่านั้น[13] โปเกมอน เยลโลว์จะมีพิกะจูเป็นโปเกมอนเริ่มต้นเพียงตัวเดียว และอิงจากพิกะจูในอะนิเมะ พิกะจูจะไม่ยอมเข้ามอนสเตอร์บอลหรือโปเกบอล แต่จะเดินตามตัวละครหลักบนหน้าจอแทน เทรนเนอร์สามารถพูดคุยกับมันและมันจะแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู[14] ณ เหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้ผู้เล่นโปเกมอนฮาร์ตโกลด์ และโซลซิลเวอร์ เข้าไปในเส้นทางผ่านเครื่องโปเกวอล์กเกอร์ ซึ่งจะมีพิกะจูที่จดจำท่าโจมตีที่ปกติจะไม่สามารถจดจำได้ นั่นคือ โต้คลื่น (Surf) และ บินโฉบ (Fly) [15] ทั้งสองท่านี้เป็นตัวช่วยเดินทาง สามารถใช้นอกการต่อสู้ได้
นอกจากซีรีส์หลักของเกมแล้ว พิกะจูยังปรากฏในเกม เฮย์ยูพิกะจู บนเครื่องนินเทนโด 64[16] ผู้เล่นสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับพิกะจูผ่านไมโครโฟน ออกคำสั่งให้เล่นมินิเกมต่าง ๆ และแสดงความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เกมโปเกมอนแชนเนลก็เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับพิกะจูเช่นกัน แต่ไม่ใช้ไมโครโฟน[17] พิกะจูปรากฏในทุกด่านของเกมโปเกมอนสแนป ซึ่งผู้เล่นจะต้องถ่ายภาพโปเกมอนเพื่อเก็บคะแนน พิกะจูเป็นหนึ่งใน 16 โปเกมอนเริ่มต้น และ 10 คู่หูในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน พิกะจูยังเป็นตัวละครหลักในเกมโปเกปาร์กวี: พิกะจูส์แอดเวนเชอร์[18] และปรากฏเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอส์[19] โปเกมอนเป็นตัวละครของโพรโตคอลอะมีโบ (Amiibo) ด้วย พิกะจูเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมโพกเคนทัวร์นาเมนต์ ร่วมกับ "พิกะจู ลิเบร" ยึดจาก "คอสเพลย์พิกะจู" จากภาคโอเมการูบี และอัลฟาแซฟไฟร์[20][21] เกม เมตันเตพิกะจู: ชิงกอมบิตันโจ เสนอพิกะจูในบทบาทนักสืบและช่วยไขปริศนา[22]

ในอะนิเมะ[แก้]

ซีรีส์อะนิเมะและภาพยนตร์โปเกมอนนำเสนอการเดินทางของซาโตชิ หรือแอช เค็ตชัม (Ash Ketchum) ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจักรวาลโปเกมอน เขาเดินทางพร้อมกับกลุ่มเพื่อนร่วมทางที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ได้แก่ คาสึมื ทาเคชิ เค็นจิ ฮารุกะ มาซาโตะ ฮิคาริ ไอริส เด็นโตะ ยูเรกะ เซเรนา และซิตรอน
ในตอนแรก เด็กชายจากเมืองมาซาระ อายุครบ 10 ปีและพร้อมที่จะได้รับโปเกมอนตัวแรก เนื่องจากตั้งใจจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ คืนก่อนที่เขาได้รับโปเกมอนเริ่มต้น (เซนิกาเมะ ฮิโตะคาเงะ หรือฟุชิงิดาเนะ ตัวใดตัวหนึ่ง) เขาฝันว่าได้รับโปเกมอนและละเมอทำลายนาฬิกาปลุกของเขา ซาโตชิวิ่งไปที่ห้องทดลองของศาสตราจารย์ออคิโด ซึ่งพบว่าโปเกมอนเริ่มต้นถูกแจกให้คนอื่นไปแล้ว ศาสตราจารย์ออคิโดบอกซาโตชิว่ายังมีโปเกมอนเหลืออยู่ตัวหนึ่ง คือ พิกะจู ทีแรก พิกะจูดื้อและไม่เชื่อฟังซาโตชิ ปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่เขาบ่อยครั้งและไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอนสเตอร์บอลเหมือนกับโปเกมอนตัวอื่น ๆ แม้กระนั้น ซาโตชิเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องพิกะจูจากฝูงโอนิซุซุเมะ[23] จากนั้นรีบพาพิกะจูไปรักษาตัวที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ เนื่องจากซาโตชิสาธิตความเชื่อถือและความมุ่งมั่นแบบไร้เงื่อนไขต่อโปเกมอน พิกะจูจึงเริ่มใส่ใจซาโตชิ และมิตรภาพระหว่างเขาก็เกิดขึ้น แต่พิกะจูยังคงไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอสเตอร์บอล หลังจากนั้นไม่นานพิกะจูแสดงพลังยิ่งใหญ่ซึ่งโดดเด่นจากโปเกมอน หรือแม้แต่พิกะจูตัวอื่น ทำให้ทีมร็อกเก็ตพยายามแย่งชิงตัวพิกะจูเพื่อสนองความต้องการของหัวหน้าซาคากิให้ได้[24] ครั้งหนึ่ง ซาโตชิเกือบปล่อยตัวพิกะจู ในตอน Pikachu's Goodbye เพราะซาโตชิคิดว่าพิกะจูคงจะมีความสุขมากกว่าถ้าได้อยู่กับฝูงพิกะจูป่า แต่พิกะจูเลือกที่จะอยู่กับเขาแทน[25] พิกะจูยังปรากฏในช่วงพิเศษในสองซีซันแรก เรียกว่า "พิกะจูส์จูกบอกซ์" ซึ่งมีเพลงจากอัลบั้ม 2.บี.เอ.มาสเตอร์ ด้วย
ในซีรีส์ยังมีพิกะจูป่า และพิกะจูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิกะจูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิกะจูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี[26] พิกะจูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอะนิเมะ ผู้ให้เสียงพิกะจูคืออิคูเอะ โอตานิ ในโปเกมอนไลฟ์ ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอะนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิกะจูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์

ในสื่ออื่น[แก้]

พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนหลักในซีรีส์มังงะโปเกมอนหลายซีรีส์ ในโปเกมอนสเปเชียล ตัวละครหลัก เรดโดะ และอิเอะโระ ทั้งคู่ต่างเลี้ยงพิกะจู เกิดเป็นไข่ซึ่งโกรุโดะฟักออกมาเป็นพีชู ในซีรีส์อื่น เช่น เมจิคัลโปเกมอนเจอร์นีย์ และเก็ตโตดาเซ นำเสนอพิกะจูเช่นกัน ขณะที่ในมังงะซีรีส์อื่น เช่น อิเล็กทริกเทลออฟพิกะจู[27] และ แอชแอนด์พิกะจู นำเสนอพิกะจูของซาโตชิตัวเดียวกับในอะนิเมะ[27]
การ์ดสะสมที่มีรูปพิกะจูปรากฏขึ้นมาในโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรก ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 รวมถึงการ์ดรุ่นที่มีจำกัดด้วย พิกะจูยังถูกนำไปใช้ส่งเสริมสินค้าร้านอาหารจานด่วนต่าง ๆ เช่น แมคโดนัลด์ เวนดีส์ และเบอร์เกอร์คิง ด้วย[28][29][30][31]

การส่งเสริมและอนุสรณ์[แก้]

รถยนต์โตโยตา อิสต์ ลายคล้ายพิกะจู
เครื่องบิน ANA โบอิง 747-400 ลายพิกะจูและโปเกมอนชนิดอื่น ๆ (ที่มองเห็นคือ ปิปปี, โทเกปี, มิวทู และคาบิกอน)
ในฐานะการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์ พิกะจูปรากฏตัวในเหตุการณ์ และสินค้าต่าง ๆ หลายครั้ง ใน ค.ศ. 1998 โจอัน แวกนอน นายกเทศมนตรีของเมืองโทพีกา รัฐแคนซัส ในขณะนั้นเปลี่ยนชื่อเมืองให้เป็น "โทพิกะจู" (Topikachu) หนึ่งวัน[32] และในโฆษณาชุด "Got Milk?" ก็มีพิกะจูปรากฏอยู่ในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2000[33] ในขบวนพาเหรดเมซีส์แธงส์กิฟวิงเดย์พาเหรด นำเสนอบอลลูนลายพิกะจูตั้งแต่ ค.ศ. 2001[34] บอลลูนแบบดั้งเดิมลอยต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้ายในงานครบรอบสิบปีของโปเกมอน ชื่อว่า "ปาร์ตีออฟเดอะเดเคด" (Party of the Decade) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ที่สวนไบรแอนต์ในนครนิวยอร์ก[35][36][37][38] และบอลลูนพิกะจูแบบใหม่ที่กำลังไล่ตามมอนสเตอร์บอลและมีแก้มสีโทนสว่างปรากฏตัวครั้งแรกในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2006[39] ในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2014 บอลลูนพิกะจูแบบใหม่สวมผ้าพันคอสีเขียวและกำลังถือพิกะจูสโนว์แมนตัวเล็กอยู่[40]
ในตอนแรกของซีรีส์ที่ 11 ของซีรีส์เรื่องท็อปเกียร์ พิธีกร ริชาร์ด แฮมมอนด์เปรียบภาพของรถยนต์รุ่นทาทา นาโน กับพิกะจูตัวหนึ่ง โดยกล่าวว่า "พวกเขาประหยัดเงินในการออกแบบ เพราะเขายึดพิกะจูเป็นต้นแบบ"[41] ในตอนชื่อ "Dual" ในซีซีนที่สามของเรื่อง ฮีโร่ส์ แดฟนี มิลล์บรุก ตั้งชื่อเล่นให้ฮิโระ นากามุระ ว่า "พิกะจู" ทำให้เขาละอายใจมาก เทรซี สเตราส์ เรียกเขาด้วยชื่อนี้อีกครั้งหลังจากเขากล่าวขอโทษก่อนที่จะต่อยหน้าเธอ[42][43] ตัวละครล้อเลียนพิกะจูตัวหนึ่งชื่อ หลิงหลิง เป็นตัวละครหลักในละครดรอนทูเก็ตเดอร์ ทางช่องคอเมดีเซนทรัล บนตัวเครื่องบินรุ่นโบอิง 747-400 ของสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ (JA8962) มีรูปพิกะจูอยู่ด้วย[44]
พิกะจูปรากฏตัวหลายครั้งในซีรีส์เดอะซิมป์สันส์ ในตอน "Bart vs. Lisa vs. the Third Grade" ค.ศ. 2002 บาร์ต ซิมป์สันมีภาพหลอนขณะทำข้อสอบในห้องเรียนและมองเห็นเพื่อนในห้องเป็นตัวละครในรายการโทรทัศน์หลายตัว หนึ่งในนั้นคือพิกะจู[45] แมกกี ซิมป์สัน กลายเป็นพิกะจูในมุขโซฟาหรือคาวช์แก็ก (couch gag) ในช่วงเปิดเรื่องของตอน 'Tis the Fifteenth Season" ค.ศ. 2003[46] มุขโซฟามุขดังกล่าวได้กลับมาใช้อีกครั้งในตอน "Fraudcast News" ค.ศ. 2004[47] ในตอน "Postcards from the Wedge" ค.ศ. 2010 ขณะบาร์ตทำการบ้าน โปเกมอนตอนหนึ่งเบี่ยงเบนความสนใจของเขา หลังจากกำลังชมฉากที่ซาโตชิกำลังคุยกับพิกะจู เขาครุ่นคิดว่าการ์ตูนเรื่องโปเกมอนสามารถฉายอยู่ได้อย่างไรเป็นเวลาหลายปี[48]
นิตยสารไทม์จัดอันดับให้พิกะจูเป็นบุคคลดีเด่นอันดับที่สองประจำปี ค.ศ. 1999 เรียกพิกะจูว่าเป็น "ตัวละครแอนิเมชันที่เป็นที่รักที่สุดนับตั้งแต่มีเฮลโลคิตตีมา" นิตยสารชี้ว่าพิกะจูเป็น "หน้าตาสาธารณชนของปรากฏการณ์ที่แพร่หลายจากวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดของนินเทนโด จนกลายเป็นอาณาจักรการ์ดเกม" กล่าวว่าสาเหตุของการจัดอันดับมาจากการทำกำไรให้แฟรนไชส์ได้ในปีนั้น รองจากริกกี มาร์ติน และนำหน้านักเขียน เจ.เค. โรว์ลิง[49] พิกะจูอยู่อันดับที่ 8 จากผลสำรวจตัวละครแอนิเมชันตัวโปรด จัดทำโดยแอนิแมกซ์ ใน ค.ศ. 2002 พิกะจูของซาโตชิอยู่อันดับที่ 15 จากรายชื่อตัวละครการ์ตูนที่ดีที่สุดตลอดกาล จัดทำโดยนิตยสารทีวีไกด์[50] เว็บไซต์เกมสปอต กล่าวถึงพิกะจูในบทความ "ฮีโร่จากเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล"[51] ใน ค.ศ. 2003 นิตยสารฟอบส์ตัดอันดับพิกะจูให้เป็นตัวละครในบันเทิงคดีที่ทำรายได้สูงสุดอันดับที่แปดด้วยรายได้ 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[52] ใน ค.ศ. 2004 พิกะจูตกอันดับลงมา 2 อันดับ อยู่อันดับที่ 10 ทำรายได้อีก 825 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นปีที่สองติดต่อกัน[53] ในผลสำรวจ ค.ศ. 2008 ของออริคอน พิกะจูได้รับโหวตเป็นตัวละครจากวิดีโอเกมที่เป็นที่นิยมที่สุดอันดับที่ 4 ในญี่ปุ่น ร่วมกับโซลิดสเนก[54] พิกะจูยังถือเป็นมิกกี้ เมาส์ในแบบฉบับของญี่ปุ่น[55] และเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว "ทุนนิยมน่ารัก" (cute capitalism) [44] พิกะจูติดอันดับที่ 8 ในรายชื่อ "ตัวละครอะนิเมะ 25 ตัวยอดเยี่ยมตลอดกาล" จัดทำโดยไอจีเอ็น[56] นิตยสารนินเทนโดเพาเวอร์จัดว่าพิกะจูเป็นฮีโรตัวโปรดอันดับที่ 9 กล่าวว่า แม้ว่ามันจะเป็นหนึ่งในโปเกมอนรุ่นแรก ๆ แต่มันก็ยังเป็นที่นิยมในทุกวันนี้[57] นักเขียน เทรซี เวสต์ และแคตเธอรีน โนลล์ เรียกพิกะจูว่าเป็นโปเกมอนรูปแบบไฟฟ้าที่ดีที่สุด และเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดจากทั้งหมดทั้งมวล เขาเสริมว่าถ้าคนคนหนึ่งถามผู้เล่นเกมโปเกมอนว่าโปเกมอนตัวโปรดของเขาคือตัวอะไร พวกเขา "คงจะ" เลือกพิกะจู เขายังเห็นว่าพิกะจู "กล้าหาญและจงรักภักดี"[58] ในคำกล่าวที่ไม่ใช่ด้านดี พิกะจูจัดว่าเป็นตัวละครการ์ตูนในยุค 1990 ที่น่ารำคาญที่สุดอันดับหนึ่ง[59] จัดทำโดยเว็บท่าอาสก์เมน[60]เช่นเดียวกัน ในผลสำรวจที่ไอจีเอ็นทำขึ้น พิกะจูเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดอันดับที่ 48 โดยมีพนักงานให้ความเห็นว่า "แม้ว่าจะเป็นโปเกมอนที่เป็นที่จดจำที่สุดในโลก พิกะจูกลับอยู่อันดับต่ำใน 100 อันดับอย่างน่าประหลาดใจ"[61]
สารลิแกนด์ที่เพิ่งถูกค้นพบซึ่งเชื่อกันว่าช่วยทำให้สายตาแหลมคม ค้นพบโดยมูลนิธิสถาบันชีวเคมีโอซากา (ญี่ปุ่นOsaka Bioscience Institute Foundation 大阪バイオサイエンス研究所 ?) ได้ชื่อว่า "พิกะชูริน" (Pikachurin) ยืมชื่อมาความว่องไวของพิกะจู[62] เนื่องจากพิกะจูมี "การเคลื่อนไหวไวเท่าแสงและเอฟเฟกต์ไฟฟ้าช็อต"[63]
พิกะจูและโปเกมอนอื่น ๆ อีก 10 ชนิดเคยถูกเลือกให้เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ในฟุตบอลโลก 2014 ด้วย[64]










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น